ประกาศข่าว :: ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบล็อกเพื่อการศึกษาการถ่ายภาพเคลื่อนไหวกับเรา Toon Photo สอนถ่ายภาพ สไตล์ตูน
 

วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความหมาย การถ่ายภาพเคลื่อนไหว movement

ความหมาย 
การถ่ายภาพเคลื่อนไหว หมายถึง การถ่ายภาพของวัตถุที่เคลื่อนไหว เช่น คนวิ่ง กระโดดโลดเต้น เล่นชิงช้ากระโดดสูง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน รถกำลังแล่น หรือการแข่งขันกีฬาด้านความเร็วประเภทต่าง ๆ
การถ่ายภาพเคลื่อนไหว ( Movement ) เป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของช่างภาพ ว่าจะมีความฉับไวและเฉียบขาดขนาดไหน ที่จะถ่ายภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวให้ออกมาดูสวยงาม สามารถจัดองค์ประกอบภาพได้อย่างเหมาะสม และมีอะไรที่เป็นปัจจัยควบคุมบ้าง

            การถ่ายภาพเคลื่อนไหว movement  เป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของช่างภาพ ว่าจะมีความฉับไวและเฉียบขาดขนาดไหน ที่จะถ่ายภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวให้ออกมาดูสวยงาม สามารถจัดองค์ประกอบภาพได้อย่างเหมาะสม และมีอะไรที่เป็นปัจจัยควบคุมบ้าง สำหรับการถ่ายภาพวัตถุเคลื่อนไหวโดยทั่วไป สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะได้แก่ 1. การใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง เพื่อจับภาพให้หยุดนิ่งการใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง เพื่อจับภาพให้หยุดนิ่งนั้น เป็นการถ่ายภาพที่นิยมใช้ในการถ่ายภาพข่าวกีฬา หรือวัตถุที่เคลื่อนด้วยความเร็วสูง ทั้งนี้เพื่อหยุดภาพในเหตุการณ์สำคัญๆ โดยใช้ความไวชัตเตอร์สูง และ ISO สูงเท่าที่กล้องจะสามารถทำได้

ตัวอย่างภาพถ่ายเคลื่อนไหว movement 

















เทคนิคการถ่ายภาพเคลือนไหวด้วยวิธีแพนกล้อง


เทคนิคการถ่ายภาพแบบแพนกล้องตามวัตถุ
1. ตั้งโปรแกรมเป็นปุ่ม S หรือ TV speed จะตั้งแปรผันตามความเร็วของวัตถุที่จะถ่าย รูรับแสงจะปรับโดยอัตโนมัติ ISO ตั้งต่ำสุด จะเพียงพอ เพราะ speed จะค่อนข้างช้า speed คร่าวๆ คนวิ่ง 15s จักรยาน 20s มอเตอร์ไซค์ 30-40s รถแข่ง 60++s
2. เลนส์ 17-40 ดีกว่า tele โดยคุณสมบัติพื้นฐานของเลนส์ ภาพที่ได้จะไหวน้อยกว่า
3. ตั้งโฟกัสแบบ continue หรือแม้โฟกัสธรรมดาก็ยังได้
4. จะถ่าย single หรือ multiple shots ก็ได้ เริ่มต้นให้ลอง single shot ก่อน โดยจิตวิทยา ทำให้เราตั้งใจโฟกัสมากกว่า คล่องแล้วค่อยถ่าย multiple shots เพื่อจับ action สวยๆได้
5. พยายามให้ส่วนมือ-แขน -ไหล่-ศีรษะ นิ่งที่สุด มือกระชับกล้องแต่อย่าเกร็ง แขนแนบลำตัว ตาแนบviewfinder คิ้ว fix ติดกล้อง เพ่งสมาธิที่จุดเดียวคือใบหน้าของแบบ แพนกล้องตาม ส่วนที่แพนตามวัตถุคือส่วนเอว หมุนตามแกนกระดูกสันหลัง เพราะฉะนั้นทุกส่วนฟรีหมดตั้งแต่เท้าจรดหัว หมุนเฉพาะแกนกระดูกสันหลังเท่านั้น
6. จับโฟกัสบริเวณใบหน้าของแบบหมุนตามการเคลื่อนที่ของแบบ อย่าช้าหรือเร็วกว่า
7. เล็งเผื่อดูจุดที่เราจะshoot กวาดประมาณ 90-120 องศา ก่อนแบบจะผ่านตัวเราจนกระทั่งแบบผ่านพ้นตัวเรา อย่าหยุดกวาดแพนกล้อง แม้จะกด shutter ไปแล้วก็ตาม
8. ขณะกด shutterให้กดเลย ไม่ต้องค้างครึ่งหนึ่งเหมือนถ่ายภาพทั่วไป มันจะโฟกัสและshootไปทีเดียวเลย ให้เบา นิ่งที่สุด เป็นธรรมชาติ สอดคล้องกับการกวาดกล้อง เหมือนกับมันเป็นแค่ส่วนเล็กๆของการกวาดแพนกล้องเท่านั้น แต่สมาธิ ณ ขณะที่กด shutter จะเป็นจุดสำคัญที่สุด สมาธิให้นิ่งที่สุดกดตอนที่ตัวแบบผ่านหน้าเราพอดี
9. ภาพที่ดีคือภาพที่ส่วนสำคัญ คือใบหน้า ต้องชัด ส่วนอื่นๆจะไม่ชัดไม่เป็นไร ส่วนฉากหลังจะเบลอเป็นเส้น (Motion blur) เวลา preview ดู อย่าดูภาพเล็ก ต้องขยายดูให้เห็นภาพเต็ม
10. หัดใหม่ๆ ถ่าย 100 ภาพ อาจเสียทั้งหมด อย่าท้อ พอรู้วิธีแล้ว จะเสียน้อยลงเรื่อยๆ ฝึกบ่อยๆจนชำนาญแล้ว เวลามีเหตุการณ์ดีๆเกิดขึ้นแบบไม่มีโอกาส take ซ้ำ เราจะมั่นใจและเปอร์เซนต์ที่จะได้ภาพดีๆสูงมาก






สรุป เทคนิคการถ่ายภาพเคลื่อนไหวด้วยวิธีแพนกล้อง


สรุป




        การถ่ายภาพแพน มีหลักเรื่องการตั้งความเร็วชัตเตอร์ให้ช้ากว่าปกติ (ลองวัดแสงด้วยกล้องแล้วลดความเร็วชัตเตอร์ลง) และฝึกการแพนกล้องให้เคลื่อนที่ไปพร้อมๆกับสิ่งที่ต้องการถ่ายให้ชัด บางครั้งเราก็ต้องใช้วิธีลองผิดลองถูก หาโอกาสถ่ายภาพแพนมากๆ อย่างถ่ายภาพรถที่ขับผ่านตอนที่เรายืนอยู่ข้างถนน หรือขอให้เพื่อนเดินไปมาแล้วฝึกแพนกล้องไป
            การเคลื่อนไหวหรือแพนหน้ากล้องให้สัมพันธ์และเป็นจังหวะเดียวกันกับวัตถุจะทำให้เส้นสายของวัตถุยังคงมีความคมชัดไม่เบลอ เพราะแสงได้รับการบันทึกอย่างต่อเนื่องลงในเซนเซอร์ตำแหน่งเดิม ในขณะที่ส่วนอื่นๆ จะปรากฏความเบลอในลักษณะของเส้นตรงออกมาให้เห็น (ในที่นี้คือฉากหน้าและฉาก หลัง) นั่นก็เป็นเพราะแสงที่กำลังบันทึกลงบนเซนเซอร์ไม่ได้ถูกบันทึกลงในตำแหน่งเดิม จึงทำให้มันสูญเสียความคมชัดไปโดยปริยาย แต่ก็จะทำให้ภาพรู้สึกถึงการเคลื่อนไหว

     
Blogger Tips And Tricks|Latest Tips For Bloggers Free Backlinks