วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555
วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555
หลักการในการถ่ายภาพเคลื่อนไหว
หลักการในการถ่ายภาพเคลื่อนไหว
ในการจะสรรค์สร้างภาพถ่ายประเภทเคลื่อนไหว มีเคล็ดลับที่ไม่ยุ่งยากมากมายอะไรในการที่ทุกท่านจะลองฝึกหัดได้โดยไม่ยากนัก การที่จะเรียกว่าเป็นเคล็ดลับนั้น เนื้อแท้แล้วก็คงจะไม่ใช่เคล็ดลับที่ยุ่งยากแต่อย่างใด ประสบการณ์ในการถ่ายภาพ การใช้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถนำมาใช้โดยมีหลักการง่ายๆ ดังนี้
1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของภาพอย่างถ่องแท้ การที่ท่านจะสรรค์สร้างภาพเคลื่อนไหว ท่านจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของภาพเคลื่อนไหวก่อนว่าภาพมีลักษณะอย่างไรจึงจะจัดอยู่ในประเภทภาพเคลื่อนไหว (ไม่ใช่ภาพไหว) ซึ่งก็ได้แนะนำท่านไว้ก่อนหน้านี้แล้วเป็นอย่างแรก ประการต่อมาก็คือ การพิจารณางานที่ต้องการถ่ายภาพให้ชัดเจนก่อนว่าท่านจะกำหนดการเคลื่อนไหวของวัตถุอะไรบ้างในภาพ ซึ่งวิธีพิจารณาโดยทั่วไปมักจะกำหนดฉากต่างๆ ให้เป็นส่วนนิ่งอยู่กับที่เป็นส่วนชัดของภาพ โดยกำหนดให้จุดเด่นของภาพหรือวัตถุที่ท่านต้องการถ่ายภาพเป็นส่วนที่มีความเคลื่อนไหวอยู่ในภาพ และประการสุดท้าย คือ การกำหนดลักษณะของภาพในเชิงขององค์ประกอบให้เด่นชัดว่าส่วนประกอบที่จัดอยู่ในช่องมองภาพของท่านจะอยู่บริเวณใดบ้างในกรอบภาพนั้น
2. เลือกขนาดความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสม อย่างที่กล่าวมาแล้วว่าภาพเคลื่อนไหวมีหลักการในการถ่ายภาพ คือ การลดขนาดความเร็วชัตเตอร์ให้ต่ำลง เพื่อให้ส่วนที่ท่านต้องการให้เกิดความเคลื่อนไหวอยู่ในภาพ เกิดการไหวตัวได้ แต่ขนาดความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับการถ่ายภาพเคลื่อนไหวนั้น ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวว่าเป็นขนาดไหนจึงจะพอดีได้ ถ้าเช่นนั้นขนาดความเร็วชัตเตอร์ควรจะเป็นเท่าไร? ปัญหานี้มีวิธีการพิจารรณด้วยหลักการง่ายๆ ก็คือ โดยปกติถ้าท่านถือกล้องถ่ายภาพในขนาดความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ นั้นท่านจะถ่ายภาพไหว (แต่ละท่านอาจจะชำนาญไม่เท่ากัน บางท่านสามารถถือกล้องถ่ายภาพขนาดความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ ได้ถึง 1/15, 1/8, /1/4 วินาทีก็มี) การถ่ายภาพเคลื่อนไหวท่านก็เพียงแต่ลดความเร็วชัตเตอร์ให้ต่ำกว่าปกติประมาณ 1-3 สต็อป นั่นหมายความว่า ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำกว่า 1/15, 1/8, 1/4, 1/2 หรือแม้แต่ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1 วินาที ท่านก็มีโอกาสในการสรรค์สร้างภาพเคลื่อนไหวได้โดยไม่ยากนัก มีข้อน่าสังเกตประการหนึ่งในการถ่ายภาพเคลื่อนไหวก็คือ ในการเลือกขนาดความเร็วชัตเตอร์นั้นยังขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวของวัตถุที่ท่านต้องการถ่ายภาพด้วยว่าวัตถุนั้นมีความเร็วในการเคลื่อนไหวอย่างไร ถ้าวัตถุนั้นมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ท่านอาจจะต้องเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ให้สูงขึ้น แต่ถ้าวัตถุมีการเคลื่อนไหวช้าลงความเร็วชัตเตอร์ก็จะถูกกำหนดให้ช้าลงตามด้วย อย่างเช่น สมมุติว่าท่านถ่ายภาพกีฬาที่มีการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว ถ้าท่านใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำจนเกินไปจะทำให้ภาพเคลื่อนไหวเบลอมากเกินไปจนดูไม่รู้เรื่องว่าการเคลื่อนไหวนั้นเป็นอย่างไร ในกรณีเช่นนี้ ท่านอาจจะต้องปรับความเร็วชัตเตอร์ให้สูงขึ้น หรือการแสดงบนเวทีที่การเคลื่อนไหวของวัตถุไม่รวดเร็ว ถ้าท่านใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงไป การเคลื่อนไหวอาจจะน้อยเกินไปจนขาดความรู้สึก ดังนั้นการคาดคะเนความเร็ววชัตเตอร์ที่เหมาะสมจึงขึ้นอยู่กับความสังเกตและประสบการณ์ ในการถ่ายภาพแต่ละแบบแล้วจึงเลือกขนาดความเร็วชัตเตอร์ ซึ่งท่านอาจจะแปรผันความเร็วชัตเตอร์เผื่อสำหรับการถ่ายภาพสามระดับ แล้วจึงนำมาเปรียบเทียบกันอีกครั้งหนึ่งประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้นจะช่วยให้เกิดความชำนาญและมีความแม่นยำที่สูงขึ้นเช่นกัน
วิธีการถ่ายภาพเคลื่อนไหว (Movement) แบ่งย่อยได้3วิธีคือ
1. กล้องอยู่กับที่ แล้วถ่ายวัตถุที่เคลื่องไหว อาจใช้ความเร็วชัตเตอร์1/125วินาที
2. กล้องเคลื่อนที่ โดยการส่าย(Pan) กล้องไปตามวัตถุ โดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/60 วินาที จะได้ภาพฉากหลังไหวพร่า ส่วนวัตถุที่ถ่ายไหวเล็กน้อย
3. ใช้เลนส์ซูม โดยการกดชัตเตอร์พร้อมกับซูมไปด้วย ด้วยการหมุนซูมเข้าหาตัว หรือเรียกสั้นๆว่าระเบิดซูม ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/10-1/20 วินาที จะเห็นเส้นภาพที่ไม่ชัดวิ่งออกจากกลางภาพ จะได้ภาพที่แสดงความเร็วอีกแบบหนึ่ง
ในการถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหว สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ
1.ทิศทางการเคลื่อนไหวของวัตถุ ถ้าวัตถุวิ่งเข้าหากล้อง จะบันทึกความเคลื่อนไหวได้น้อยกว่าวัตถุที่เคลื่อนไหวตามแนวเฉียงหรือวิ่งผ่านหน้ากล้อง
2.ระยะห่างของวัตถุจากกล้อง ถ้าวัตถุที่จะถ่ายอยู่ไกล จะบันทึกความเคลื่อนไหวได้น้อยกว่าวัตถุที่อยู่ใกล้
3.เลนส์ของกล้องที่ใช้ ถ้าใช้เลนส์ที่มี Focal Length สั้น จะบันทึกความเคลื่อนไหวได้น้อยกว่าเลนส์ที่มี Focal Length ยาว
4.สังเกตความเร็วของวัตถุ ถ้าวัตถุเคลื่อนไหวต่างกัน การตั้งความเร็วชัตเตอร์ต้องเปลื่ยนไป วัตถุที่เคลื่อนไหวเร็วต้องตั้งความไวเร็วกว่าวัตถุท่่ีเคลื่อนไหวช้า
On
23:28:00
|
อ่านเพิ่มเติม
เคล็ดลับการถ่ายภาพเคลื่อนไหว
ภาพเคลื่อนไหว มักจะเป็นที่กล่าวขวัญกันเสมอๆ ในหมู่ของนักถ่ายภาพนักเล่นภาพ ทั้งมือใหม่มือเก่า หรือมือกลางเก่ากลางใหม่ แล้วภาพเคลื่อนไหวกับภาพไหวนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร
ภาพที่ 1 ดูผ่านๆ ก็พบว่าน่าจะเป็นภาพดีมีคุณภาพพอใช้ได้ แต่ถ้านำภาพนี้มาพิจารณาจะพบว่าเป็นภาพที่เกิดจากการสั่นไหวของกล้องซึ่งถ้านำมาขยายใหญ่จะยิ่งพบว่าอาการสั่นไหวจะยิ่งเห็นได้ชัดเจนขึ้น และอาการไหวจะเกิดการไหวทั้งภาพ เกิดจากการสั่นไหวของกล้องถ่ายภาพ หรือเกิดจากการไหวตัวของวัตถุ ภาพลักษณะนี้คือ ภาพไหว
ภาพที่ 2 เป็นภาพที่แสดงถึงการเคลื่อนไหววัตถุ พิจารณาภาพทั้งภาพจะพบว่าเป็นภาพที่ถ่ายโดยกล้องไม่ได้สั่นไหว พิจารณาได้จากภาพจะมีส่วนที่แสดงถึงความคมชัดอยู่ในภาพ แต่มีการเคลื่อนไหวของวัตถุที่ถ่ายภาพ ถ้าเป็นภาพลักษณะนี้เราจะพิจารณาเป็นภาพเคลื่อนไหวได้
3. พยายามเลือกใช้ขาตั้งกล้องในการถ่ายภาพ เนื่องจากการถ่ายภาพเคลื่อนไหว ท่านจำเป็นที่จะเลือกขนาดความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำสำหรับการถ่ายภาพ การเลือกใช้ขาตั้งกล้องในการถ่ายภาพจึงเป็นวิธีการที่สะดวกในการควบคุมกล้องให้อยู่นิ่งได้เป็นอย่างดี ในขณะที่ท่านลั่นไกชัตเตอร์ การถือกล้องด้วยมือในการถ่ายภาพหลายท่านอาจจะสามารถถ่ายภาพได้ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มโอกาสให้กล้องไหวได้เช่นกัน ดังนั้นภาพถ่ายของท่านอาจจะได้ทั้งส่วนเคลื่อนไหว และภาพไหว ในเวลาเดียวกัน ขาตั้งกล้องจึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้
มาถึงขั้นนี้ท่านก็สามารถที่จะทดลองถ่ายภาพเคลื่อนไหวได้โดยไม่ยากนัก จากวิธีการที่แนะนำมา แต่การสร้าสรรค์ภาพเคลื่อนไหวหาใช่มีวิธีการเพียงเท่านี้ก็หาไม่ การสร้างสรรค์ภาพเคลื่อนไหวทุกท่านสามารถที่จะอาศัยหลักการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเร็วชัตเตอร์ ในการดัดแปลงเพื่อใช้งานต่างๆ ได้หลายรูปแบบ และยังมีวิธีการสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยใช้วิธีการอื่นๆ อีกหลายรูปแบบ อย่างเช่น การถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ด้วยการยิงแฟลชพิเศษ หรือการถ่ายภาพซ้อนหลายๆ ครั้ง โดยใช้ระบบถ่ายภาพซ้อนจะเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่มีผู้นิยมใช้กัน ซึ่งกรรมวิธีต่างๆ เหล่านี้ก็จะต้องขึ้นอยู่กับสมรรถนะของอุปกรณ์ และการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์จะทำให้ท่านสรรหาวิธีการถ่ายภาพแลกๆ สนุกๆ ได้มากมาย ถ้าท่านคิดได้ ถ่ายแล้วน่าสนใจอย่างไรอย่าลืมส่งมาบอกต่อท่านผู้อ่านท่านอื่นได้จะยิ่งดีครับ
โดยหลักการแล้ว การถ่ายภาพเคลื่อนไหว และการถ่ายภาพไหว เกิดจากสาเหตุคล้ายกัน คือ การถ่ายภาพในขนาดความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำกว่าปกติทั่วไป ซึ่งจะทำให้เกิดการไหวขึ้นในภาพ ถ้ากล่าวเช่นนี้แล้วการถ่ายภาพไหวกับการถ่ายภาพเคลื่อนไหวก็เหมือนกันนะสิ หลายท่านอาจเข้าใจเช่นนั้น แต่โดยพิจารณาคุณภาพของภาพถ่ายแล้วไม่ใช่เป็นไปตามนั้น ในการพิจารณาคุณภาพของภาพว่าเป็นภาพเคลื่อนไหว หรือเป็นภาพไหวนั้นจะกลับกันทันที ถ้าภาพเป็นภาพเคลื่อนไหวจัดเป็นภาพที่มีคุณภาพได้ แต่ถ้าเป็นภาพไหวโดยทั่วไปจัดเป็นภาพคุณภาพต่ำ เหตุผลนี้จะปรากฏเสมอๆ ในการตัดสินภาพประกวด
ในการประกวดภาพกรรมการตัดสินจะพิจารณาภาพเคลื่อนไหว เป็นภาพที่เข้ารอบได้ แต่ถ้าเป็นภาพไหวมักจะเป็นภาพที่ตัดสินให้ตกรอบ เว้นเสียแต่ว่า กรรมการได้พิจารณาแล้วว่าการถ่ายภาพไหวนั้นจงใจถ่ายทำเพื่อให้ภาพมีศิลปะ
ถ้าเช่นนั้นหมายความว่าอย่างไรครับ หลายท่านอาจจะเริ่มงงกับคุณลักษณะของภาพ เอาเป็นว่าการพิจารณาภาพก็คงต้องขึ้นอยู่กับความรู้สึกของการชมภาพ ว่าภาพถ่ายนั้นดูแล้วให้ความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหว ตัดสินกันด้วยความรู้สึกก็ว่าได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ภาพที่ 1 ดูผ่านๆ ก็พบว่าน่าจะเป็นภาพดีมีคุณภาพพอใช้ได้ แต่ถ้านำภาพนี้มาพิจารณาจะพบว่าเป็นภาพที่เกิดจากการสั่นไหวของกล้องซึ่งถ้านำมาขยายใหญ่จะยิ่งพบว่าอาการสั่นไหวจะยิ่งเห็นได้ชัดเจนขึ้น และอาการไหวจะเกิดการไหวทั้งภาพ เกิดจากการสั่นไหวของกล้องถ่ายภาพ หรือเกิดจากการไหวตัวของวัตถุ ภาพลักษณะนี้คือ ภาพไหว
ภาพที่ 2 เป็นภาพที่แสดงถึงการเคลื่อนไหววัตถุ พิจารณาภาพทั้งภาพจะพบว่าเป็นภาพที่ถ่ายโดยกล้องไม่ได้สั่นไหว พิจารณาได้จากภาพจะมีส่วนที่แสดงถึงความคมชัดอยู่ในภาพ แต่มีการเคลื่อนไหวของวัตถุที่ถ่ายภาพ ถ้าเป็นภาพลักษณะนี้เราจะพิจารณาเป็นภาพเคลื่อนไหวได้
หลักการในการถ่ายภาพเคลื่อนไหว
ในการจะสรรค์สร้างภาพถ่ายประเภทเคลื่อนไหว มีเคล็ดลับที่ไม่ยุ่งยากมากมายอะไรในการที่ทุกท่านจะลองฝึกหัดได้โดยไม่ยากนัก การที่จะเรียกว่าเป็นเคล็ดลับนั้น เนื้อแท้แล้วก็คงจะไม่ใช่เคล็ดลับที่ยุ่งยากแต่อย่างใด ประสบการณ์ในการถ่ายภาพ การใช้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถนำมาใช้โดยมีหลักการง่ายๆ ดังนี้
1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของภาพอย่างถ่องแท้ การที่ท่านจะสรรค์สร้างภาพเคลื่อนไหว ท่านจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของภาพเคลื่อนไหวก่อนว่าภาพมีลักษณะอย่างไรจึงจะจัดอยู่ในประเภทภาพเคลื่อนไหว (ไม่ใช่ภาพไหว) ซึ่งก็ได้แนะนำท่านไว้ก่อนหน้านี้แล้วเป็นอย่างแรก ประการต่อมาก็คือ การพิจารณางานที่ต้องการถ่ายภาพให้ชัดเจนก่อนว่าท่านจะกำหนดการเคลื่อนไหวของวัตถุอะไรบ้างในภาพ ซึ่งวิธีพิจารณาโดยทั่วไปมักจะกำหนดฉากต่างๆ ให้เป็นส่วนนิ่งอยู่กับที่เป็นส่วนชัดของภาพ โดยกำหนดให้จุดเด่นของภาพหรือวัตถุที่ท่านต้องการถ่ายภาพเป็นส่วนที่มีความเคลื่อนไหวอยู่ในภาพ และประการสุดท้าย คือ การกำหนดลักษณะของภาพในเชิงขององค์ประกอบให้เด่นชัดว่าส่วนประกอบที่จัดอยู่ในช่องมองภาพของท่านจะอยู่บริเวณใดบ้างในกรอบภาพนั้น
2. เลือกขนาดความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสม อย่างที่กล่าวมาแล้วว่าภาพเคลื่อนไหวมีหลักการในการถ่ายภาพ คือ การลดขนาดความเร็วชัตเตอร์ให้ต่ำลง เพื่อให้ส่วนที่ท่านต้องการให้เกิดความเคลื่อนไหวอยู่ในภาพ เกิดการไหวตัวได้ แต่ขนาดความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับการถ่ายภาพเคลื่อนไหวนั้น ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวว่าเป็นขนาดไหนจึงจะพอดีได้ ถ้าเช่นนั้นขนาดความเร็วชัตเตอร์ควรจะเป็นเท่าไร? ปัญหานี้มีวิธีการพิจารรณด้วยหลักการง่ายๆ ก็คือ โดยปกติถ้าท่านถือกล้องถ่ายภาพในขนาดความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ นั้นท่านจะถ่ายภาพไหว (แต่ละท่านอาจจะชำนาญไม่เท่ากัน บางท่านสามารถถือกล้องถ่ายภาพขนาดความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ ได้ถึง 1/15, 1/8, /1/4 วินาทีก็มี) การถ่ายภาพเคลื่อนไหวท่านก็เพียงแต่ลดความเร็วชัตเตอร์ให้ต่ำกว่าปกติประมาณ 1-3 สต็อป นั่นหมายความว่า ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำกว่า 1/15, 1/8, 1/4, 1/2 หรือแม้แต่ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1 วินาที ท่านก็มีโอกาสในการสรรค์สร้างภาพเคลื่อนไหวได้โดยไม่ยากนัก มีข้อน่าสังเกตประการหนึ่งในการถ่ายภาพเคลื่อนไหวก็คือ ในการเลือกขนาดความเร็วชัตเตอร์นั้นยังขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวของวัตถุที่ท่านต้องการถ่ายภาพด้วยว่าวัตถุนั้นมีความเร็วในการเคลื่อนไหวอย่างไร ถ้าวัตถุนั้นมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ท่านอาจจะต้องเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ให้สูงขึ้น แต่ถ้าวัตถุมีการเคลื่อนไหวช้าลงความเร็วชัตเตอร์ก็จะถูกกำหนดให้ช้าลงตามด้วย อย่างเช่น สมมุติว่าท่านถ่ายภาพกีฬาที่มีการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว ถ้าท่านใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำจนเกินไปจะทำให้ภาพเคลื่อนไหวเบลอมากเกินไปจนดูไม่รู้เรื่องว่าการเคลื่อนไหวนั้นเป็นอย่างไร ในกรณีเช่นนี้ ท่านอาจจะต้องปรับความเร็วชัตเตอร์ให้สูงขึ้น หรือการแสดงบนเวทีที่การเคลื่อนไหวของวัตถุไม่รวดเร็ว ถ้าท่านใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงไป การเคลื่อนไหวอาจจะน้อยเกินไปจนขาดความรู้สึก ดังนั้นการคาดคะเนความเร็ววชัตเตอร์ที่เหมาะสมจึงขึ้นอยู่กับความสังเกตและประสบการณ์ ในการถ่ายภาพแต่ละแบบแล้วจึงเลือกขนาดความเร็วชัตเตอร์ ซึ่งท่านอาจจะแปรผันความเร็วชัตเตอร์เผื่อสำหรับการถ่ายภาพสามระดับ แล้วจึงนำมาเปรียบเทียบกันอีกครั้งหนึ่งประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้นจะช่วยให้เกิดความชำนาญและมีความแม่นยำที่สูงขึ้นเช่นกัน
3. พยายามเลือกใช้ขาตั้งกล้องในการถ่ายภาพ เนื่องจากการถ่ายภาพเคลื่อนไหว ท่านจำเป็นที่จะเลือกขนาดความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำสำหรับการถ่ายภาพ การเลือกใช้ขาตั้งกล้องในการถ่ายภาพจึงเป็นวิธีการที่สะดวกในการควบคุมกล้องให้อยู่นิ่งได้เป็นอย่างดี ในขณะที่ท่านลั่นไกชัตเตอร์ การถือกล้องด้วยมือในการถ่ายภาพหลายท่านอาจจะสามารถถ่ายภาพได้ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มโอกาสให้กล้องไหวได้เช่นกัน ดังนั้นภาพถ่ายของท่านอาจจะได้ทั้งส่วนเคลื่อนไหว และภาพไหว ในเวลาเดียวกัน ขาตั้งกล้องจึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้
4. เลือกจังหวะในการกดชัตเตอร์ การสร้างสรรค์ภาพเคลื่อนไหว ภาพของท่านจะดูให้ความรู้สึกที่เด่นชัดได้ดี คือการรอจังหวะในการกดชัตเตอร์ การคาดการเคลื่อนไหวไว้ล่วงหน้าสักนิด รอเวลาการกดชัตเตอร์ในขณะที่มีทั้งส่วนหยุดนิ่งในภาพและการเคลื่อนไหวในภาพ จะช่วยให้ท่านสร้างสรรค์ภาพได้ดีขึ้น
5. ท่านสามารถใช้แฟลชช่วยในการสร้างภาพเคลื่อนไหวได้ ในกรณีที่ท่านต้องการเสริมแฟลชในการถ่ายภาพเคลื่อนไหวนั้น ท่านก็สามารถทำได้ไม่ยากนัก การคำนวณระยะทางที่สัมพันธ์กับขนาดรูรับแสง โดยลดความเร็วชัตเตอร์ลง ท่านก็สามารถสร้างสรรค์งานถ่ายภาพเคลื่อนไหวได้ด้วยแฟลชเช่นกัน และถ้ากล้องของท่านเป็นระบบแฟลชอัตโนมัติ วัดแสงแฟลชผ่านเลนส์นั้นยิ่งจะเป็นการสะดวกยิ่งขึ้น และเช่นเดียวกันในกล้องถ่ายภาพหลายรุ่นที่มีระบบแฟลชที่ความเร็วชัตเตอร์ต่ำให้เลือกว่าแฟลชจะยิงแสงก่อนชัตเตอร์ปิดหรือแฟลชจะยิงแสงตั้งแต่ชัตเตอร์เปิด (ในระบบ Slow Sync) ซึ่งภาพที่ได้จะมีผลแตกต่างกัน ถ้าแฟลชยิงแสงตั้งแต่ชัตเตอร์เริ่มเปิดนั้น หมายความว่าท่านจะได้ภาพจากแฟลชก่อนภาพเคลื่อนไหว แต่ถ้าแฟลชติดก่อนชัตเตอร์ปิด (Rear Sync Flash) นั้นหมายความว่าท่านจะได้ภาพเคลื่อนไหวก่อนภาพที่ได้จากแฟลช
มาถึงขั้นนี้ท่านก็สามารถที่จะทดลองถ่ายภาพเคลื่อนไหวได้โดยไม่ยากนัก จากวิธีการที่แนะนำมา แต่การสร้าสรรค์ภาพเคลื่อนไหวหาใช่มีวิธีการเพียงเท่านี้ก็หาไม่ การสร้างสรรค์ภาพเคลื่อนไหวทุกท่านสามารถที่จะอาศัยหลักการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเร็วชัตเตอร์ ในการดัดแปลงเพื่อใช้งานต่างๆ ได้หลายรูปแบบ และยังมีวิธีการสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยใช้วิธีการอื่นๆ อีกหลายรูปแบบ อย่างเช่น การถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ด้วยการยิงแฟลชพิเศษ หรือการถ่ายภาพซ้อนหลายๆ ครั้ง โดยใช้ระบบถ่ายภาพซ้อนจะเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่มีผู้นิยมใช้กัน ซึ่งกรรมวิธีต่างๆ เหล่านี้ก็จะต้องขึ้นอยู่กับสมรรถนะของอุปกรณ์ และการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์จะทำให้ท่านสรรหาวิธีการถ่ายภาพแลกๆ สนุกๆ ได้มากมาย ถ้าท่านคิดได้ ถ่ายแล้วน่าสนใจอย่างไรอย่าลืมส่งมาบอกต่อท่านผู้อ่านท่านอื่นได้จะยิ่งดีครับ
On
23:27:00
|
อ่านเพิ่มเติม
ความหมายของการถ่ายภาพเคลื่อนไหวด้วยวิธีแพนกล้อง
การถ่ายภาพเคลื่อนไหวที่เรียกว่า
panning
หรือการแพนกล้องไประหว่างกดชัตเตอร์ที่ความเร็วต่ำ
โดยถือหลักเหมือนกับว่าเวลาเราขับรถ ตัวเราจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าพร้อมๆกับเรา
ดังนั้นของที่อยู่กับที่หรือขยับที่ความเร็วต่างกันมันก็จะเลื่อนผ่านเราไปตลอดเวลา
แต่ถ้ารถคันข้างๆขับที่ความเร็วเท่ากัน เราจะเห็นเหมือนเค้าอยู่นิ่งๆ ถ้าได้ถ่ายรูปรถคันนั้น
ภาพที่ได้ก็จะดูเหมือนกับรถอยู่นิ่งๆแบ๊กกราวนด์ขยับสวนทางกับทิศรถแล่น
ด้วยหลักการเดียวกันเราสามารถที่จะถ่ายภาพเคลื่อนที่โดยการพยายามให้กล้องที่จะถ่ายเลื่อนไปตามสิ่งที่จะถ่ายด้วยอัตราเร็วเท่ากัน
ภาพที่ถูกถ่ายก็เหมือนกับอยู่นิ่งๆให้ถ่าย แม้จะเปิดชัตเตอร์ช้า ก็จะไม่มัว
ในขณะที่แบ๊กกราวนด์ที่เลื่อนด้วยความเร็วไม่เท่ากัน (หรือที่อยู่นิ่งๆ)
ก็จะกลายเป็นเคลื่อนที่ในทางตรงกันข้ามกับที่เราแพนกล้อง ทำให้แบ๊กกราวน์มัวไป
การเคลื่อนไหวหรือแพนหน้ากล้องให้สัมพันธ์และเป็นจังหวะเดียวกันกับวัตถุจะทำให้เส้นสายของวัตถุยังคงมีความคมชัดไม่เบลอ เพราะแสงได้รับการบันทึกอย่างต่อเนื่องลงในเซนเซอร์ตำแหน่งเดิม ในขณะที่ส่วนอื่นๆ จะปรากฏความเบลอในลักษณะของเส้นตรงออกมาให้เห็น (ในที่นี้คือฉากหน้าและฉาก หลัง) นั่นก็เป็นเพราะแสงที่กำลังบันทึกลงบนเซนเซอร์ไม่ได้ถูกบันทึกลงในตำแหน่งเดิม จึงทำให้มันสูญเสียความคมชัดไปโดยปริยาย แต่ก็จะทำให้ภาพรู้สึกถึงการเคลื่อนไหว
การเคลื่อนไหวหรือแพนหน้ากล้องให้สัมพันธ์และเป็นจังหวะเดียวกันกับวัตถุจะทำให้เส้นสายของวัตถุยังคงมีความคมชัดไม่เบลอ เพราะแสงได้รับการบันทึกอย่างต่อเนื่องลงในเซนเซอร์ตำแหน่งเดิม ในขณะที่ส่วนอื่นๆ จะปรากฏความเบลอในลักษณะของเส้นตรงออกมาให้เห็น (ในที่นี้คือฉากหน้าและฉาก หลัง) นั่นก็เป็นเพราะแสงที่กำลังบันทึกลงบนเซนเซอร์ไม่ได้ถูกบันทึกลงในตำแหน่งเดิม จึงทำให้มันสูญเสียความคมชัดไปโดยปริยาย แต่ก็จะทำให้ภาพรู้สึกถึงการเคลื่อนไหว
On
23:26:00
|
อ่านเพิ่มเติม
วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ความหมาย การถ่ายภาพเคลื่อนไหว movement
ความหมาย
การถ่ายภาพเคลื่อนไหว หมายถึง
การถ่ายภาพของวัตถุที่เคลื่อนไหว เช่น คนวิ่ง กระโดดโลดเต้น เล่นชิงช้ากระโดดสูง
ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน รถกำลังแล่น หรือการแข่งขันกีฬาด้านความเร็วประเภทต่าง ๆ
การถ่ายภาพเคลื่อนไหว ( Movement ) เป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของช่างภาพ
ว่าจะมีความฉับไวและเฉียบขาดขนาดไหน
ที่จะถ่ายภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวให้ออกมาดูสวยงาม
สามารถจัดองค์ประกอบภาพได้อย่างเหมาะสม และมีอะไรที่เป็นปัจจัยควบคุมบ้างการถ่ายภาพเคลื่อนไหว movement เป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของช่างภาพ ว่าจะมีความฉับไวและเฉียบขาดขนาดไหน ที่จะถ่ายภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวให้ออกมาดูสวยงาม สามารถจัดองค์ประกอบภาพได้อย่างเหมาะสม และมีอะไรที่เป็นปัจจัยควบคุมบ้าง สำหรับการถ่ายภาพวัตถุเคลื่อนไหวโดยทั่วไป สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะได้แก่ 1. การใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง เพื่อจับภาพให้หยุดนิ่งการใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง เพื่อจับภาพให้หยุดนิ่งนั้น เป็นการถ่ายภาพที่นิยมใช้ในการถ่ายภาพข่าวกีฬา หรือวัตถุที่เคลื่อนด้วยความเร็วสูง ทั้งนี้เพื่อหยุดภาพในเหตุการณ์สำคัญๆ โดยใช้ความไวชัตเตอร์สูง และ ISO สูงเท่าที่กล้องจะสามารถทำได้
On
23:29:00
|
อ่านเพิ่มเติม
เทคนิคการถ่ายภาพเคลือนไหวด้วยวิธีแพนกล้อง
เทคนิคการถ่ายภาพแบบแพนกล้องตามวัตถุ
1.
ตั้งโปรแกรมเป็นปุ่ม S หรือ TV speed จะตั้งแปรผันตามความเร็วของวัตถุที่จะถ่าย รูรับแสงจะปรับโดยอัตโนมัติ ISO
ตั้งต่ำสุด จะเพียงพอ เพราะ speed จะค่อนข้างช้า
speed คร่าวๆ คนวิ่ง 15s จักรยาน 20s
มอเตอร์ไซค์ 30-40s รถแข่ง 60++s
2. เลนส์ 17-40 ดีกว่า tele โดยคุณสมบัติพื้นฐานของเลนส์ ภาพที่ได้จะไหวน้อยกว่า
2. เลนส์ 17-40 ดีกว่า tele โดยคุณสมบัติพื้นฐานของเลนส์ ภาพที่ได้จะไหวน้อยกว่า
3. ตั้งโฟกัสแบบ continue หรือแม้โฟกัสธรรมดาก็ยังได้
4.
จะถ่าย single หรือ multiple shots ก็ได้ เริ่มต้นให้ลอง single shot ก่อน โดยจิตวิทยา
ทำให้เราตั้งใจโฟกัสมากกว่า คล่องแล้วค่อยถ่าย multiple shots เพื่อจับ action สวยๆได้
5.
พยายามให้ส่วนมือ-แขน -ไหล่-ศีรษะ นิ่งที่สุด
มือกระชับกล้องแต่อย่าเกร็ง แขนแนบลำตัว ตาแนบviewfinder คิ้ว
fix ติดกล้อง เพ่งสมาธิที่จุดเดียวคือใบหน้าของแบบ
แพนกล้องตาม ส่วนที่แพนตามวัตถุคือส่วนเอว หมุนตามแกนกระดูกสันหลัง
เพราะฉะนั้นทุกส่วนฟรีหมดตั้งแต่เท้าจรดหัว หมุนเฉพาะแกนกระดูกสันหลังเท่านั้น
6. จับโฟกัสบริเวณใบหน้าของแบบหมุนตามการเคลื่อนที่ของแบบ
อย่าช้าหรือเร็วกว่า
7.
เล็งเผื่อดูจุดที่เราจะshoot กวาดประมาณ 90-120 องศา ก่อนแบบจะผ่านตัวเราจนกระทั่งแบบผ่านพ้นตัวเรา อย่าหยุดกวาดแพนกล้อง
แม้จะกด shutter ไปแล้วก็ตาม
8.
ขณะกด shutterให้กดเลย
ไม่ต้องค้างครึ่งหนึ่งเหมือนถ่ายภาพทั่วไป มันจะโฟกัสและshootไปทีเดียวเลย ให้เบา นิ่งที่สุด เป็นธรรมชาติ สอดคล้องกับการกวาดกล้อง
เหมือนกับมันเป็นแค่ส่วนเล็กๆของการกวาดแพนกล้องเท่านั้น แต่สมาธิ ณ ขณะที่กด shutter
จะเป็นจุดสำคัญที่สุด
สมาธิให้นิ่งที่สุดกดตอนที่ตัวแบบผ่านหน้าเราพอดี
9.
ภาพที่ดีคือภาพที่ส่วนสำคัญ คือใบหน้า ต้องชัด ส่วนอื่นๆจะไม่ชัดไม่เป็นไร
ส่วนฉากหลังจะเบลอเป็นเส้น (Motion blur) เวลา preview
ดู อย่าดูภาพเล็ก ต้องขยายดูให้เห็นภาพเต็ม
10.
หัดใหม่ๆ ถ่าย 100 ภาพ อาจเสียทั้งหมด อย่าท้อ
พอรู้วิธีแล้ว จะเสียน้อยลงเรื่อยๆ ฝึกบ่อยๆจนชำนาญแล้ว
เวลามีเหตุการณ์ดีๆเกิดขึ้นแบบไม่มีโอกาส take ซ้ำ
เราจะมั่นใจและเปอร์เซนต์ที่จะได้ภาพดีๆสูงมาก
On
05:22:00
|
อ่านเพิ่มเติม
สรุป เทคนิคการถ่ายภาพเคลื่อนไหวด้วยวิธีแพนกล้อง
สรุป
การถ่ายภาพแพน
มีหลักเรื่องการตั้งความเร็วชัตเตอร์ให้ช้ากว่าปกติ
(ลองวัดแสงด้วยกล้องแล้วลดความเร็วชัตเตอร์ลง) และฝึกการแพนกล้องให้เคลื่อนที่ไปพร้อมๆกับสิ่งที่ต้องการถ่ายให้ชัด
บางครั้งเราก็ต้องใช้วิธีลองผิดลองถูก หาโอกาสถ่ายภาพแพนมากๆ
อย่างถ่ายภาพรถที่ขับผ่านตอนที่เรายืนอยู่ข้างถนน
หรือขอให้เพื่อนเดินไปมาแล้วฝึกแพนกล้องไป
การเคลื่อนไหวหรือแพนหน้ากล้องให้สัมพันธ์และเป็นจังหวะเดียวกันกับวัตถุจะทำให้เส้นสายของวัตถุยังคงมีความคมชัดไม่เบลอ
เพราะแสงได้รับการบันทึกอย่างต่อเนื่องลงในเซนเซอร์ตำแหน่งเดิม ในขณะที่ส่วนอื่นๆ
จะปรากฏความเบลอในลักษณะของเส้นตรงออกมาให้เห็น (ในที่นี้คือฉากหน้าและฉาก หลัง) นั่นก็เป็นเพราะแสงที่กำลังบันทึกลงบนเซนเซอร์ไม่ได้ถูกบันทึกลงในตำแหน่งเดิม
จึงทำให้มันสูญเสียความคมชัดไปโดยปริยาย แต่ก็จะทำให้ภาพรู้สึกถึงการเคลื่อนไหว
On
05:20:00
|
อ่านเพิ่มเติม
วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555
วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ความรู้พื้นฐานที่นักถ่ายรูปทุกคนควรทราบ
ความรู้พื้นฐานที่นักถ่ายรูปทุกคนควรทราบ
ความเร็วชัตเตอร์
ความเร็วชัตเตอร์เป็นการกำหนดระยะเวลาในการบันทึกภาพซึ่งกลไกของกล้องจะมีแผ่นเลื่อนเปิดปิดอยู่หน้าฟิล์ม
(หรือแผ่นรับแสง CCDในกรณีของกล้องดิจิตอล)
เรียกว่าชัตเตอร์สามารถเปิดและปิดเพื่อเปิดให้แสงเข้าไปบันทึกภาพตามระยะเวลาที่เราตั้งความเร็วชัตเตอร์เราต้องเลือกให้เหมาะสมกับวัตถุที่ต้องการถ่ายภาพโดยทั่วไปจะพิจารณาจากสภาพแสง
เช่น การถ่ายภาพจากแหล่งแสงที่มีแสงน้อยเช่น แสงเทียน
ต้องเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์หลายวินาทีส่วนการถ่ายภาพกลางแจ้ง มีแดดจัด
ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงกว่า เช่น1/500 วินาทีเป็นต้น
ปัจจัยอื่นที่สำคัญคือความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุ
เช่นการถ่ายภาพรถยนต์เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว
ต้องการให้ภาพคมชัดต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดเท่าที่ทำได้โดยสัมพันธ์กับขนาดรูรับแสงที่เลือก
เช่น ตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/4000วินาที เป็นต้น
ขนาดรูรับแสง
กล้องส่วนใหญ่จะมีอุปกรณ์บังคับให้แสงผ่านเลนส์มากหรือน้อยโดยใช้แผ่นกลีบโลหะซึ่งติดตั้งอยู่ในตัวเลนส์เป็นการกำหนดปริมาณแสงผ่านเลนส์ได้มากหรือน้อยโดยวิธีเปิดรูเล็กสุด
เช่น f/22 และค่อยๆใหญ่ขึ้นตามลำดับจนกระทั่งเปิดเต็มที่
เช่น f/1.4แต่ขนาดเปิดเต็มที่จะขึ้นกับขนาดชิ้นเลนส์ด้วยเลนส์ราคาสูงที่มีเลนส์ชิ้นหน้าขนาดใหญ่
จะรับแสงได้มากกว่าซึ่งหมายถึงเปิดรูรับแสงเต็มที่ได้กว้างกว่า เช่น f/1.2สำหรับการถ่ายภาพจะเลือกใช้ขนาดรูรับแสงใด
โดยทั่วไปจะพิจารณาจากสภาพแสงถ้าแสงมากมักจะใช้ขนาดรูรับแสงเล็ก เช่น f/11ถ้าแสงน้อยมักจะใช้ขนาดรูรับแสงใหญ่
เช่น f/2 เป็นต้น ปัจจับอื่นที่สำคัญคือ ความชัดลึก
ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง
การตั้งความเร็วชัตเตอร์และขนาดรูรับแสงต้องมีความสัมพันธ์กัน
เพื่อให้ได้ปริมาณแสงที่พอเหมาะในการบันทึกภาพซึ่งในสภาพแสงเดียวกัน
และเลือกค่าความไวแสงเท่ากันสามารถตั้งค่าที่เหมาะสมได้หลายค่า ตามตัวอย่าง เช่น
การตั้งความเร็วชัตเตอร์และขนาดรูรับแสง
การเลือกคู่ที่เหมาะสมตามตัวอย่างในหัวข้อ
ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง
ให้พิจารณาได้จากปัจจับต่างๆดังนี้
1. ความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุที่จะถ่าย วัตถุที่เคลื่อนที่เร็วแต่เราต้องการภาพชัด
ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดเท่าที่กล้องจะทำได้แต่ถ้าเป็นวัตถุที่อยู่นิ่งนั้น
สามารถเลือกความเร็วชัตเตอร์เท่าไรก็ได้
2. ความชัดลึกของวัตถุที่จะถ่าย ขนาดรูรับแสงเล็กเช่น
f/22 จะให้ความชัดลึกมากกว่าขนาดรูรับแสงกว้าง เช่น
f/1.4ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญมากในการถ่ายภาพระยะใกล้หรือใช้เลนส์ถ่ายไกลในการถ่ายภาพ
การชดเชยแสง
เป็นการปรับปริมาณแสงในการบันทึกภาพให้แตกต่างไปจากค่าที่ได้จากเครื่องวัดแสงเช่น
การถ่ายภาพย้อนแสงนั้น
ค่าที่ได้จากเครื่องวัดแสงมักจะได้ค่าที่ทำให้วัตถุค่อนข้างมืด
การชดเชยแสงโดยเพิ่มแสงมากกว่าที่วัดแสงได้ หรืออีกกรณีหนึ่งคือการถ่ายภาพวัถตุที่อยู่หน้าฉากหลังสีดำค่าที่ได้จากเครื่องวัดแสงมักจะได้ค่าที่ทำให้วัตถุค่อนข้างสว่างเกินไปการชดเชยแสงทำได้โดยลดแสงให้น้อยกว่าที่วัดแสงได้
เป็นต้น
การเปลี่ยนความเร็วชัตเตอร์และขนาดรูรับแสงเพื่อชดเชยแสง
ในการชดเชยแสงนั้นนิยมปรับเปลี่ยน
เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งคือความเร็วชัตเตอร์ หรือขนาดรูรับแสง
หลักการชดเชยแสงก็มีเพียงสองทาง คือ เพิ่มแสง หรือลดแสง
การเพิ่มแสง
การปรับที่ความเร็วชัตเตอร์คือ
การลดความเร็วชัตเตอร์ลง เช่น วัดแสงได้ 1/500
วินาที เพิ่มแสง 1ระดับก็ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์เป็น 1/250ยึดหลักว่าถ้าชัตเตอร์ปิดช้าลงก็จะต้องได้แสงมากขึ้นแน่นอนหากเพิ่มแสงโดยปรับที่ขนาดรูรับแสงก็ต้องเพิ่มขนาดรูรับแสงให้ใหญ่ขึ้นเช่น
วัดแสงได้ f/4 เพิ่มแสง 1
ระดับก็ต้องเปลี่ยนเป็น f/2.8
การลดแสง
การปรับที่ความเร็วชัตเตอร์คือ
การเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ เช่น วัดแสงได้ 1/500
วินาที ลดแสง 1 ระดับก็ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์เป็น 1/1000คือให้ชัตเตอร์ปิดเร็วขึ้นเท่าตัวนั่นเอง
หากลดแสงโดยปรับที่ขนาดรูรับแสงก็ต้องลดขนาดรูรับแสงให้เล็กลง เช่น วัดแสงได้ f/4
ลดแสง 1 ระดับก็ต้องเปลี่ยนเป็น f/5.6
การเลือกความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกความเร็วชัตเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของวัตถุนั้น
ให้พิจารณาดังนี้
- ทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ
แบ่งทิศทางการเคลื่อนที่เป็น2
ลักษณะ คือเคลื่อนที่เข้าหา/ออกห่างกล้อง
หรือเคลื่อนที่ผ่านกล้องจากซ้ายไปขวาหรือกลับกันโดยที่การเคลื่อนที่เข้าหาหรือออกห่างจากกล้องนั้นสามารถเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำว่าการเคลื่อนที่ผ่านกล้องเช่น
รถยนต์ที่ขับด้วยความเร็วด้วยความเร็ว 60
กม./ชม.เท่ากันที่เคลื่อนที่เข้าหากล้อง อาจใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/125แต่ถ้าเคลื่อนที่ผ่านกล้อง
อาจต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ถึง 1/500
- ความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุ
วัตถุที่เคลื่อนที่เร็วเช่น รถแข่ง
ควรเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดที่กล้องสามารถทำได้ส่วนคนเดิน
สามารถใช้ความเร็วที่น้อยกว่าได้ อย่างไรก็ตามการถ่ายภาพวัตถุเคลื่อนที่ควรเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดเท่าที่สภาพแสงอำนวยผลลัพธ์หยุดนิ่งหรือดูแล้วเคลื่อนไหว
การสร้างสรรภาพบางแบบนิยมให้ภาพดูแล้วมีลักษณะเบลอแบบเคลื่อนไหวเพื่อให้ผู้ชมภาพมีความรู้สึกว่า
มีความเคลื่อนไหวในภาพอาจใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้ากว่าปกติได้ เช่น
รถแข่งอาจใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/15พร้อมกับเล็งกล้องติดตามรถแข่งไปด้วยขณะที่กดปุ่มชัตเตอร์หากฝึกให้ดีแล้วจะได้ภาพที่รถแข่งชัดบางส่วนส่วนฉากหลังจะมีลักษณะเป็นลายทางให้ความรู้สึกถึงความเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว
- ความชัดลึก
อันนี้เป็นคุณสมบัติเรื่องของเลนส์เป็นหลักเลยครับ
ปัจจับที่มีผลต่อเรื่องนี้คือขนาดรูรับแสงขนาดรูรับแสงที่เล็กจะชัดลึกกว่า
ขนาดรูรับแสงใหญ่ เช่นถ้าเราถ่ายภาพระยะใกล้ เช่น ถ่ายดอกชบา 1
ดอกแบบเต็มภาพทางด้านหน้าเราจะเห็นว่าเกสรดอกจะอยู่ใกล้กล้องมากที่สุด กลีบดอก
และก้านดอกจะอยู่ลึกหรือไกลกล้องออกไปหากเราต้องการถ่ายภาพให้ชัดทั้งหมดตั้งแต่เกสรดอกจนถึงก้านดอกนี่แหละคือสิ่งที่เราเรียกว่าความชัดลึก
ซึ่งต้องใช้รูรับแสงขนาดเล็กไว้ในทางกลับกันหากเราใช้รูรับแสงใหญ่
จะเรียกว่าชัดตื้นมักใช้ในกรณีที่เราต้องการให้ฉากหลังมีความคมชัดน้อยกว่าวัตถุเพื่อเน้นให้วัตถุเด่นขึ้นมา
มักจะพบบ่อยในการถ่ายภาพแฟชั่นหรือการถ่ายบุคคลเฉพาะใบหน้า
- ขนาดความยาวโฟกัสของเลนส์
เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสน้อยเช่น 28
ม.ม. จะมีความชัดลึกมากกว่าเลนส์ 300
ม.ม.ดังนั้นใครที่ต้องการถ่ายภาพให้ชัดลึกก็ต้องเลือกความยาวโฟกัสให้น้อยเข้าไว้เช่นการถ่ายภาพทิวทัศน์
ส่วนงานถ่ายภาพแฟชั่น มักจะใช้ขนาดความยาวโฟกัสมากเพื่อเน้นที่นางแบบให้เด่นครับ
ระยะห่างระหว่างกล้องถึงวัตถุ
ระยะห่างมากจะชัดลึกกว่าระยะห่างน้อย
เราจะเห็นว่าเวลาเราถ่ายภาพวิว ซึ่งเป็นระยะไกลๆภาพมักจะชัดทั้งภาพ
แต่ถ้าเราถ่ายภาพดอกไม้ในระยะใกล้ๆภาพมักจะไม่ชัดทั้งภาพ จะชัดเพียงบางส่วน
ตามที่เราตั้งโฟกัสไว้พอรู้อย่างนี้แล้วครั้งต่อไปที่ถ่ายภาพดอกไม้ระยะไกล้อย่าลืมใช้ขนาดรูรับแสงเล็กๆนะครับ
การวัดแสงเพื่อการถ่ายภาพ
เทคนิคการวัดแสงขั้นพื้นฐาน
ให้พิจารณาจากปัจจัยสำคัญดังนี้
- แหล่งต้นกำเนิดแสง
กล้องปัจจุบันสามารถปรับสมดุลย์สีขาว(White
balance) ได้อัตโนมัติผู้ใช้กล้องทั่วไปจึงไม่ได้ให้ความสำคัญในส่วนนี้แต่แท้จริงแล้วเป็นส่วนสำคัญที่จะได้ภาพที่มีสีสรรถูกต้องเนื่องจากฟิล์มถูกผลิตมาให้เหมาะสมกับอุณหภูมิสีของแสงตามที่ออกแบบมา
เช่นแสงอาทิตย์ (Daylight) หรือแสงจากหลอดไส้ หรือแสงจากหลอดนีออน
เป็นต้นหากเป็นกล้องดิจิตอลรุ่นใหม่มักจะออกแบบมาให้สามารถปรับเปลี่ยนชนิดแหล่งต้นกำเนิดแสงได้แม้ว่ากล้องจะมีปุ่มปรับสมดุลย์สีขาวอัตโนมัติ
(Auto White balance)มาแล้วก็ตาม
แต่บางครั้งการทำงานของระบบอัตโนมัติก็ไม่ถูกต้องนักซึ่งเราจะเห็นได้จากจอ LCD
ว่าสีเพี้ยนหากเป็นเช่นนี้เราก็ต้องปรับตั้งแหล่งต้นกำเนิดแสงด้วยตนเอง
เช่นแสงอาทิตย์ / แสงอาทิตย์มีเมฆมาก / แสงอาทิตย์ใต้อาคาร / แสงจากหลอดไส้
/แสงจากหลอดนีออน / ตั้งสมดุลย์สีขาวเอง (Custom)หากเราลองเปลี่ยนสมดุลย์สีขาวชนิดต่างๆในกล้องแล้วยังได้สีไม่ตรงตามความเป็นจริงเราต้องใช้วิธีตั้งสมดุลย์สีขาวเองซึ่งวิธีการจะแตกต่างกันไปในกล้องแต่ละยี่ห้อซึ่งวิธีการโดยทั่วไปจะต้องใช้กระดาษสีขาวมาวางไว้ภายใต้สภาพแสงขณะนั้นแล้วเลือกตั้งสมดุลย์สีขาวเอง
จากนั้นส่องกล้องให้เห็นกระดาษสีขาวเต็มจอกดปุ่ม Set เพื่อให้กล้องอ่านอุณหภูมิสีขณะนั้นกล้องจะปรับแก้ให้เราเห็นกระดาษขาวเป็นสีขาวจริงๆ
ผ่านจอ LCDเป็นเสร็จพิธี
แล้วก็ถ่ายภาพที่มีสีถูกต้องในสภาพแสงนั้นได้ตลอดหากออกจากสภาพแสงนั้นแล้วอย่าลืมเปลี่ยนสมดุลย์สีขาวหรือตั้งค่าใหม่ด้วยนะครับ
- ทิศทางของแสง
การถ่ายภาพแบบพื้นฐานนั้น
เราจะเน้นแต่แสงธรรมชาติกับแสงจากแฟลช แบ่งเป็น
1.แสงส่องวัตถุคือแสงส่องหน้าแบบของเรา
ซึ่งแสงจากแฟลชก็เป็นแสงแบบนี้
2.แสงหลังหรือที่เรียกว่าย้อนแสง
3.แสงข้าง
4.แสงบนเช่นตอนเที่ยงวัน
การวัดแสงควรวัดแสงที่วัตถุเท่านั้นจะได้ค่าการวัดแสงที่ถูกต้องที่สุดในกรณีแสงข้าง
ควรวัดแสงเฉลี่ยด้านมืดกับด้านสว่างแต่ถ้าเราต้องการภาพเชิงศิลป์ออกโทนมืดๆหน่อย
ให้วัดแสงที่ด้านสว่างกรณีนี้ต้องใช้กล้องที่สามารถปรับวิธีวัดแสงแบบเฉพาะจุด (Spot)จะได้ไม่ต้องเข้าใกล้ขนาดจ่อหน้านางแบบมากขอเสริมเทคนิคให้สำหรับกล้องที่ไม่สามารถปรับวิธีวัดแสงแบบเฉพาะจุดได้ให้ใช้วิธีวัดแสงกับมือของตากล้องนี่แหละครับดูแปลกๆหน่อยแต่ก็ช่วยให้วัดแสงได้แม่นยำขึ้นนะครับ
โดยหลักการแล้วกล้องแบบนี้จะวัดแสงเฉลี่ยดังนั้นช่างภาพยกมือเราขึ้นมาทำให้แสงที่ตกบนมือเราเหมือนกับที่หน้านางแบบเช่น
แสงข้างก็ต้องกำมือปรับมุมข้อมือให้แสงตกบนหลังมือเราเหมือนแสงที่หน้านางแบบแล้วเอากล้องจ่อที่มือเราแล้ววัดแสง
เราอาจเน้นด้านสว่างก็จ่อกล้องที่ด้านสว่าง หรือเน้นที่ด้านมืด
ก็จ่อกล้องที่ด้านมืดแต่ถ้ากล้องของเราทำการตั้งระยะชัดพร้อมกับวัดแสงด้วยแบบนี้ใช้ไม่ได้นะครับ
เพราะระยะชัดไม่ถูกต้องครับถ้าเป็นเช่นนี้ก็ยังไม่หมดหนทางครับแต่เราต้องเตรียมกระดาษสีเทาใบใหญ่กว่า
A4
ก็ดีครับให้นางแบบถือไว้โดยปรับมุมของกระดาษสีเทานี้แสงตกกระทบในมุมเดียวกับหน้านางแบบแล้ววัดแสงที่กระดาษสีเทาก็ได้จะได้ค่าแสงที่เหมาะสมครับความเปรียบต่างของแสงส่องวัตถุกับแสงหลัง
เช่นกรณีการถ่ายย้อนแสงโดยที่นางแบบอยู่ในร่มเงาฉากหลังเป็นหาดทรายสีขาว
แบบนี้ถ้าวัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพผลลัพธ์ก็จะออกมามืดไปเพราะเครื่องวัดแสงของกล้องจะโดนหลอกจากแสงหลังที่มาจากหาดทรายว่าแสงมากจึงให้ค่าการวัดแสงที่ต่ำเกินไปคือถ่ายออกมาแล้วมืดไปเราต้องใช้วิธีวัดแสงเฉพาะจุดที่หน้านางแบบ
แต่วิธีนี้ก็ให้ผลเสียคือฉากหลังจะขาวเกินไปจนอาจมองไม่ออกเลยว่าถ่ายที่ไหนวิธีนี้แนะนำให้เปิดแฟลชเพื่อลบเงาที่หน้านางแบบแฟลชที่ติดมากับกล้องจะได้ผลน้อย
แต่ก็ดีกว่าไม่เปิดท่านที่มีแฟลชเสริมขอให้หยิบมาใช้เลยครับภาพแจ่มทั้งนางแบบและฉากหลังเลยครับการวัดแสงมีเรื่องให้กล่าวถึงมากมายครับขอให้ติดตามต่อในเรื่องของการถ่ายภาพแบบพิเศษ
On
03:03:00
|
อ่านเพิ่มเติม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)